วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ครั้งที่11 พฤหัสบดี 13 พฤศจิกายน 2557
เข้าอบรมสัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย "โลกแห่งนิทานสรรค์สร้างเด็กปฐมวัย"
การเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ทีจะทำให้เราสนุกสนานไปกับการเล่านิทาน การนำความรู้ที่ได้ไปปฎิบัติตาม และเล่านิทานให้กับเด็กฟังได้เทคนิคการเล่ามากมาย
สรุป ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าอบรมทำให้เราได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนานไปกับการเล่านิทานของครูมูที่ทำเอาทุกคนสนุกหัวเรอะไปกับการเล่นนิทานค่ะ
ครั้งที่ 9 พฤหัสบดีที่ 30 ต.ค 2557
การสอนแบบโครงการ (Project Approach )
1. ให้โอกาสเด็กเรียนรู้โดยการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ 2. หัวเรื่องที่ถูกเลือกควรมีความหมายต่อชีวิตต่อตัวเด็ก และครูสามารถบูรณาการเนื้อหาเช่น คณิตศาสตร์ภาษา วิทยาศาสตร์ 4. การค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับหัวเรื่อง 5. เด็กมีโอกาสที่จะวางแผนสืบค้นด้วยตนเอง โดยมีครูช่วยเหลือ
ภาพบรรยากาศในการเรียน
การเปิดวีดีโอการเรียนรู้ของเด็กที่สอนแบบโครงการวา่เป็น
อย่างไร
วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557
บันทึกอนุทิน
สัปดาห์ที่ 5 ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยมีความต้องการตามวัยประการหนึ่งคือ อยากเรียนรู้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเอง โดยการได้ทดลอง จับสัมผัสอยู่เสมอ ดังนั้น พ่อแม่และครูจะต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็ก และคัดสรรความรู้มาใช้จัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก
หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
การสอนภาษาแบบธรรมชาติเกิดจากความเชื่อว่า เด็กเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติตามชีวิตจริง การสอนภาษาแบบธรรมชาติ หรือการสอนภาษาแบบองค์รวมจึงหมายถึง การสอนภาษาแบบบูรณาการทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน เขียนให้แก่เด็กพร้อมกันอย่างมีความหมาย สอดคล้องเหมาะสมกับวัย และเป็นแบบธรรมชาติของคนเรา และเน้นให้เด็กกระทำด้วยตนเองซึ่งส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language Approach) คือ การที่เด็กได้เรียนรู้การใช้ภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน เขียนไปตามธรรมชาติ อย่างมีความหมาย สอดคล้องเหมาะสมกับวัย โดยไม่แยกว่าต้องอ่านก่อน หรือเขียนก่อน แต่จะเน้นให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง เช่น อ่านนิทาน เล่าเรื่องราว ฟังนิทานที่ครูหรือเพื่อนเล่า เขียนคำที่ตนสนใจจากเรื่องที่ได้อ่านหรือได้ฟัง เป็นต้น
ภาพกิจกรรม ภาษาธรรมชาติและการร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557
บันทึกอนุทิน
สัปดาห์ที่4 25/09/57
- กิจกรรมการรายงาน การเขียนสำหรับเด็ปฐมวัย
การเขียนเป็นการพัฒนาการทางภาษาที่มีความสำคัญไม่แตกต่างจากการฟัง พูด และอ่าน จุดมุ่งหมายของการเขียนในเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนจากขั้นง่ายๆไปสู่ขั้นที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เด็กต้องการประสบการณ์ในการเขียนตั้งแต่การทำเครื่องหมาย การทดลองเขียนคำ การเขียนประโยค เพื่อที่จะได้เกิดสิ่งที่ค้นพบว่าเครื่องหมายต่างๆ ที่เด็กได้ทดลองนั้นมีความหมายสำหรับตนเอง การเขียนเป็นทักษะที่มีความยุ่งยาก เพราะต้องใช้ความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์และความสามารถเฉพาะตัวของเด็กแต่ละคน ฉะนั้นรอยขีดๆ เขียนๆ ซึ่งอาจจะเขียนอย่างมีความหมายและไม่มีความหมายตามความเป็นจริงหรือไม่นั้นจะเป็นการพัฒนาด้านการเขียนเป็นขั้นๆ ไป ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วการพัฒนาการเขียนเริ่มจากการจับปากกาหรือดินสอลากไปบนกระดาษ แล้วสามารถบอกได้ว่ารอยขีดเขียนต่างๆ ที่ปรากฏในกระดาษนั้นคืออะไร ตลอดจนเด็กสามารถเชื่อมโยงเป็นเรื่องราวได้อย่างไรบ้างและให้ตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่าการเขียนของเด็กปฐมวัย คือ การที่เด็กขีดเขียนถ่ายทอดเรื่องราวความคิดออกมาอย่างมีความหมาย เด็กสามารถบอกได้ว่าเขาเขียนอะไร การเขียนของเด็กไม่เน้นความสวยงามหรือถูกต้องตามหลักการเขียน แต่การเขียนในเด็กปฐมวัยจะเป็นไปตามพัฒนาการและความสามารถเฉพาะของเด็กแต่ละคน
บันทึกอนุทิน
สัปดาห์ที่ 3 11/09/57
กิจกรรมการเรียนการสอนประกอบการเรียนรู้
- เอกสารประกอบการสอน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทำด้วยโปรแกรม Power Point
- กระดาษ
- สีไม้ สีเมจิค สีเทียน
- แฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรมการเรียนรู้
-ได้ร้องเพลงที่เปํ็นเพลงที่ต้องนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพ
• ตอบสนองความต้องการทางธรรมชาติของเด็ก
• ช่วยให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน มีความสุข ผ่อนคลายอารมณ์เครียด
• ส่งเสริมให้เด็กมีสมาธิโดยใช้นิทานเป็นสื่อช่วยยืดช่วงความสนใจของเด็กให้นานขึ้น
• ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ซึ่งอาจแทรกอยู่ในเนื้อเรื่อง
• ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์ทางภาษา เรียนรู้คำศัพท์ใหม่และการใช้ภาษาที่ถูกต้อง
• เสริมประสบการณ์เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ที่เหมาะสมกับวัย
• ให้เด็กได้แสดงออก กล้าซักถาม และแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
• ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ
• เตรียมความพร้อมทางภาษาทุกด้านทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน
• กระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจหนังสือ คุ้นเคยกับหนังสือ ส่งเสริมให้มีนิสัยรักการอ่าน
• พัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก เด็กกับเด็ก
• พัฒนาด้านการคิด สามารถรับรู้สิ่งที่ฟังและถ่ายทอดเรื่องราวที่ฟังให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามวัย
• ใช้นิทานเป็นสื่อในการลดและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
• ช่วยให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน มีความสุข ผ่อนคลายอารมณ์เครียด
• ส่งเสริมให้เด็กมีสมาธิโดยใช้นิทานเป็นสื่อช่วยยืดช่วงความสนใจของเด็กให้นานขึ้น
• ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ซึ่งอาจแทรกอยู่ในเนื้อเรื่อง
• ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์ทางภาษา เรียนรู้คำศัพท์ใหม่และการใช้ภาษาที่ถูกต้อง
• เสริมประสบการณ์เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ที่เหมาะสมกับวัย
• ให้เด็กได้แสดงออก กล้าซักถาม และแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
• ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ
• เตรียมความพร้อมทางภาษาทุกด้านทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน
• กระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจหนังสือ คุ้นเคยกับหนังสือ ส่งเสริมให้มีนิสัยรักการอ่าน
• พัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก เด็กกับเด็ก
• พัฒนาด้านการคิด สามารถรับรู้สิ่งที่ฟังและถ่ายทอดเรื่องราวที่ฟังให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามวัย
• ใช้นิทานเป็นสื่อในการลดและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
บันทึกอนุทิน
สัปดาห์ที่2 04/09/57
ภาษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการคิด ซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาในขั้นสูง ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร ทั้งในการแสดงออกถึงความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด และข่าวสาร อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ โดยเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้มนุษย์สามารถถ่ายทอดความคิดที่เป็นนามธรรมได้ การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษา
1.1 เด็กได้อยู่ในบรรยากาศที่มีการใช้ภาษา
1.2 เด็กได้รับความพึงพอใจและความสนุกสนานผ่านทางภาษา
1.3 เด็กมีโอกาสจำแนกเสียงที่ได้ยิน
1.4 เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พรั่งพร้อมไปด้วยการใช้คำใหม่ๆ
1.5 เด็กมีโอกาสฟังและทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
1.6 เด็กมีโอกาสเรียนรู้ที่จะทำตามคำสั่งแนะนำ หรือคำสั่ง
บันทึกอนุทิน
สัปดาห์ที่1 28/08/57
ทฤษฎีการเรียนรู้ ( learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)